Magnetic Resonance Imaging (MRI)


เครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI ( Magnetic Resonance Imaging)
เป็นวิธีการตรวจวินิจฉัยโรคด้วยภาพทางการแพทย์ที่สามารถแสดงภาพตามระนาบได้ทั้งแนวขวาง แนวยาว และแนวเฉียง เป็น 3 มิติ แสดงภาพเหมือนจริงของอวัยวะภายในต่าง ๆ ของร่างกายและการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น อันเป็นผลมาจากความผิดปกติต่าง ๆ ได้ชัดเจน โดยเฉพาะสมอง หัวใจ กระดูก กล้ามเนื้อ และส่วนที่เป็นมะเร็ง โดยอาศัยคุณสมบัติของคลื่นสะท้อนในสนามแม่เหล็ก ไม่มีรังสีเอ็กซ์ ไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวดใด ๆ แก่ร่างกาย และไม่มีอันตรายจากรังสีตกค้าง

โรคที่สามารถวินิจฉัยด้วยเครื่อง MRI ได้


1.สมอง
2.หัวใจ
3.อวัยวะในช่องท้องและทรวงอก
4.กระดูกสันหลังระบบกล้ามเนื้อและข้อ
5.หลอดเลือดแดงและหลอดเลือดดำทั่วร่างกาย
6.ระบบกล้ามเนื้อ กระดูก และข้อต่อ
7.ท่อทางเดินน้ำดี และถุงน้ำดี
8.เต้านม

การเตรียมตัวเพื่อการตรวจด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า MRI


1.ผู้ถูกตรวจจะได้รับอุปกรณ์อุดหู ระหว่างการตรวจผู้ถูกตรวจจำเป็นต้องอยู่นิ่ง ๆ
2.เนื่องจากเป็นการตรวจที่ไม่เจ็บปวด ท่านเพียงแต่ทำใจให้สงบ นอนให้สบาย ไม่ต้องกลัว
3.ในขณะที่เครื่องทำงานจะมีเสียงดัง กรุณาอย่าตกใจ
4.ในขณะที่ท่านทำการตรวจอยู่ในเครื่องจะมีเจ้าหน้าที่ดูแลท่านตลอดเวลา ถ้ามีปัญหาขัดข้องอะไรท่านสามารถกดปุ่มส่งสัญญาณโดยผ่านปุ่มกดที่อยู่ภายในเครื่อง
5.เนื่องเป็นการตรวจที่ละเอียดจึงใช้เวลาค่อนข้างนานในการตรวจแต่ละชุด ท่านต้องนอนให้นิ่งที่สุด ไม่เช่นนั้นจะทำให้ภาพไม่ชัดเจน อาจทำให้การวินิจฉัยไม่แม่นยำได้
6.เจ้าหน้าที่จะทำการอธิบายอีกครั้งก่อนเข้ารับการตรวจ หากมีข้อสงสัยให้ถามเจ้าหน้าที่ได้
7.ถ้าท่านเกิดการกังวลใจ กลัวที่จะอยู่คนเดียวในห้องหรือกลัวที่แคบ โปรดแจ้งเจ้าหน้าที่ก่อนเข้ารับการตรวจ ซึ่งอาจให้ญาตินั่งเป็นเพื่อนได้โดยไม่มีอันตรายใดๆ
8.หลีกเลี่ยงการแต่งหน้า เนื่องจากเครื่องสำอางบางชนิดทำให้เกิดภาพบิดเบี้ยวได้

การเตรียมตัวหลังการตรวจ MRI


1.ผู้ป่วยสามารถทำกิจกรรมได้ตามปกติ
2.ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ตามปกติ
3.กรณีที่ได้รับสารเพิ่มความเปรียบต่างทางหลอดเลือด ผู้ป่วยต้องดื่มน้ำมากๆอย่างน้อย 2-3 ลิตร ตลอดทั้งวัน

ข้อควรระมัดระวังและสิ่งพึงปฏิบัติในการทำ MRI


ก่อนเข้ารับการตรวจ MRI ตรวจดูว่าร่างกายมีสิ่งต้องห้ามอะไรดังต่อไปนี้บ้าง

1.สิ่งที่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่

▶ เครื่องช่วยกระตุ้นหัวใจ (pacemaker)
▶ ผู้ป่วยที่เคยได้รับการผ่าตัด clips หรือโลหะต่างๆ
▶ ผู้ป่วยที่มีสิ่งแปลกปลอมหรือโลหะอยู่ในร่างกายเช่นเคยถูกยิงมีกระสุนค้างอยู่ตามร่างกาย

2.สิ่งที่ต้องฝากญาติหรือใส่ไว้ในตู้เก็บของ

▶ เครื่องประดับต่างๆ เช่น นาฬิกา สร้อย ต่างหู กิ๊บ เข็มกลัดติดเสื้อ เป็นต้น
▶ ฟันปลอม เครื่องช่วยหูฟัง
▶ บัตรเครดิต บัตรเอทีเอ็ม
▶ สิ่งของที่เป็นโลหะ เช่น กุญแจ คลิป ปากกา เป็นต้น

ความเสี่ยงเฉพาะ (Specific risks) บุคคลที่ไม่สามารถเข้าใช้เครื่อง MRI ได้
ข้อควรระวัง ดังนี้

1.ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่กลัวที่แคบ และไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (Claustrophobic) เพราะเครื่องตรวจพิเศษด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้ามีลักษณะคล้ายอุโมงค์

2.ควรหลีกเลี่ยงในรายที่มีโลหะฝังอยู่ในร่างกาย เช่น

▶ ผู้ที่ผ่าตัดติดคลิปอุดหลอดเลือดในโรคเส้นเลือดโป่งพอง (Aneurism Clips)
▶ Metal plate ในคนที่ตามกระดูก
▶ คนที่เปลี่ยนข้อเทียม
▶ คนที่ใส่ลิ้นหัวใจเทียม (Artificial Cardiac valve)
▶ ผู้ที่ผ่าตัดใส่เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ
▶ ผู้ที่ผ่าตัดใส่อวัยวะเทียมภายในหู
▶ ผู้ป่วยที่ใส่ Stent ที่หลอดเลือดหัวใจต้องสอบถามจากแพทย์ที่ใส่ Stent ว่าเป็น Stent ชนิดใดจะทำ MRI ได้หรือไม่หรือต้องรอกี่สัปดาห์ค่อยทำ ปัจจุบัน Stent ที่หลอดเลือดหัวใจถ้าเป็นรุ่น MRI compatible สามารถทำได้ทันที่ไม่มีผลเสียใดๆ

3.ควรหลีกเลี่ยงในคนที่ เตรียมตัวเข้ารับการผ่าตัด สมอง ตา หรือ หู ซึ่งจะต้องฝัง เครื่องมือทางการแพทย์ไว้ (Medical devices)

4.ที่เคยได้รับอุบัติเหตุที่ลูกตา และสงสัยว่าจะมีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าไปในลูกตาหรือมีอาชีพเกี่ยวข้องกับโลหะและมีความเสี่ยงต่อการมีโลหะชิ้นเล็กๆ กระเด็นเข้าลูกตา ซึ่งถ้าเข้าไปอยู่ในสนามแม่เหล็กอาจมีการเคลื่อนที่ของโลหะขึ้นนั้นก่อให้เกิดอันตรายได้ (การถ่ายภาพเอ็กซเรย์ธรรมตาของตาจะช่วยบอกได้ว่ามีหรือไม่มีโลหะอยู่ในลูกตา)

5.ผู้ที่ใส่เหล็กดัดฟัน ถ้าสงสัยมีความผิดปกติบริเวณก้านสมอง หรือ กระดูกสันหลังส่วนคอ และมีความจำเป็นต้อทำ MRI ควรต้องถอดเอาเหล็กตัดฟันออกก่อน เพราะจะมีผลต่อความชัดของภาพ

6.ผู้ที่รับการตรวจร่างกายด้วย MRI จะต้องนำโลหะต่างๆ ออกจากตัว เช่น หนีบผม ฟันปลอม ต่างหูเครื่องประดับ บัตรเดบิต (ATM), บัตรเครดิต นาฬิกา Thumb drive Pocket PC ปากกา ไม่เช่นนั้น อาจจะทำให้สิ่งของได้รับความเสียหาย และอาจถูกฉุดกระชาก นอกจากนี้ยังทำให้ภาพที่อยู่บริเวณโลหะไม่ชัด

7.ไม่ควรใช้อายชาโดว์ และมาสคาร่า เพราะอาจมีส่วนผสมของโลหะ ทำให้เกิดเป็นสิ่งแปลกปลอมในภาพได้

8.จากข้อมูลที่มีอยู่ในปัจจุบัน ไม่พบว่าการตรวจ MRI มีอันตรายต่อทารกในครรภ์ แต่ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ ไม่ควรตรวจในระยะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์

9.ห้องตรวจการตรวจพิเศษด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) มีสนามแม่เหล็กแรง สูงตลอดเวลา มีผลต่อการทำงานของเครื่องมือที่ไวต่อแม่เหล็ก เช่น เครื่องกระตุ้นการทำงานของหัวใจให้เป็นจังหวะ ดึงดูดวัตถุที่เป็นโลหะทุกชนิดที่เหนี่ยวนำแม่เหล็ก เช่น เหล็กโลหะอื่นๆ ที่มีส่วนประกอบของเหล็ก ลบข้อมูลจากเทปแม่เหล็ก การ์ดที่ใช้แถบแม่เหล็ก เช่น บัตรเดบิต (ATM), บัตรเครดิต นาฬิกา, Thumb drive หรือ พวกเครื่อง Pocket PC


ความเสี่ยงทั่วไป (General Risk)

▶ ควรหลีกเลี่ยงในผู้ที่กลัวที่แคบ และไม่สามารถนอนในอุโมงค์ตรวจได้ (Claustrophobic) เพราะ MRI มีลักษณะคล้ายอุโมงค์

ทั้งนี้ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของนักรังสีเทคนิคอย่างเคร่งครัด

สอบถามข้อมูลและนัดหมาย


▶ แผนกรังสีวิทยา MRI โทร 075-626-555 ต่อ 1154
▶ เปิดให้บริการ วันจันทร์ – วันอาทิตย์ เวลา 08.00-20.00 น.