Diagnostic Radiography


เครื่องเอกซเรย์ระบบดิจิตอล (Digital radiography)


1. เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลแบบ CR (Computed Radiography) เครื่องเอกซเรย์ชนิดนี้มีลักษณะ
เดียวกับเครื่องเอกซเรย์ทั่วไปเพียงแต่ส่วนที่เป็นตลับฟิล์ม(Cassette) จะบรรจุแผ่นรับภาพที่เรียกว่า Imaging plate แทนฟิล์ม และเมื่อให้รังสีกับผู้ป่วยแล้วก็นาแผ่น Imaging plate ไปเข้าเครื่องอ่านคือ Imaging reader เพื่ออ่านข้อมูลบนแผ่น (คล้ายๆกับ card reader ในกล้องดิจิตอล) เมื่ออ่านสัญญาณภาพในแผ่น Imaging plate แล้วก็จะส่งภาพเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ แพทย์ก็ดูภาพทางจอคอมพิวเตอร์ต่อไป หรือจะเลือกพิมพ์ภาพฟิล์มออกมาแบบเดิมก็ได้

2. เครื่องเอกซเรย์ดิจิตอลแบบ DR (Digital Radiography) ซึ่งระบบนี้ไม่ต้องมีแผ่นรับภาพแบบ
imaging plate แต่ออกแบบให้มี Sensor หรือ Detector เป็นแผ่นขนาดใหญ่ เรียกว่า Flat Panel Detector แทนถาดรับฟิล์มเลย ซึ่งแผ่น Detector เหล่านี้เมื่อได้รับรังสีจะแปลงพลังงานรังสีไปเป็นสัญญาณไฟฟ้าโดยตรง จากนั้นจะส่งสัญญาณไฟฟ้าเข้าเครื่องประมวลผลภาพ ได้ภาพออกมาทันทีภายในเวลาไม่กี่วินาที โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์อ่านข้อมูล (Reader) แบบ CR ซึ่งระบบนี้เป็นระบบใหม่ล่าสุด เรียกว่า Direct Digital Radiography (DDR) ปัจจุบันนิยมใช้ Detector เรียกว่า a-Se TFT หรือ amorphous Selenium Thin Film Transistors. นอกจากนี้แล้ว ยังมีอีกระบบที่ เรียกว่า Indirect Digital Radiography (IDR) ซึ่งจะใช้ detector ที่มีตัวเรืองแสงประเภท Cesium Iodide (CsI(Tl)) ที่แอคติเวทโดยทอเรียม เพื่อให้มีความไวในการรับรังสี วางไว้ก่อนชั้น TFT เมื่อได้รับรังสีชั้น CsI จะเรืองแสงขึ้น และมี Photodiode คอยรับความเข้มแสงที่เกิดจากการเรืองแสงของผลึก CsI จากนั้น Photodiode จะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังคอมพิวเตอร์เพื่อประมวลผลภาพต่อไป
สาหรับ Detector ของเครื่อง DR ทั้งแบบ DDR และ IDR จะประกอบด้วยจานวน sensor เล็กๆ เต็มทั้งแผ่น เรียกแต่ละจุดว่า Pixel ซึ่งจะมีขนาดเล็กมากประมาณ 50-300 micron

CR: ผศ. สุชาติ เกียรติวัฒนเจริญ ภาควิชารังสีเทคนิค คณะเทคนิคการแพทย์