By Marketing • 10/26/23 Thursday • เรื่องสุดแสบของสาวอ๊อฟฟิต已关闭评论
ผู้ป่วยจะมีอาการขัดเบา คือ ถ่ายปัสสาวะกะปริดกระปรอย (ออกมาทีละน้อยแต่บ่อยครั้ง) รู้สึกปวดขัดหรือแสบร้อนเวลาถ่ายปัสสาวะ โดยเฉพาะตอนถ่ายปัสสาวะสุด มักต้องเข้าห้องน้ำทุกชั่วโมงหรือชั่วโมงละหลายครั้ง มีอาการคล้ายถ่ายปัสสาวะไม่สุดอยู่ตลอดเวลา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการปวดที่ท้องน้อยหรือบริเวณหัวหน่าวร่วมด้วย ปัสสาวะอาจมีกลิ่นเหม็น สีมักใส แต่บางรายปัสสาวะอาจมีสีขุ่นหรือมีเลือดปน มักไม่มีไข้ (ยกเว้นถ้ามีกรวยไตอักเสบร่วมด้วย ผู้ป่วยจะมีไข้สูง หนาวสั่น ปัสสาวะสีขุ่น และมีอาการปวดเอวร่วมด้วย) ส่วนในเด็กเล็กอาจมีอาการปัสสาวะรดที่นอน และอาจมีไข้ เบื่ออาหาร อาเจียนร่วมด้วย โดยอาการมักเกิดขึ้นหลังกลั้นปัสสาวะเป็นเวลานาน ๆ มีการสวนปัสสาวะ หรือหลังจากการร่วมเพศและเป็นโรคที่พบได้บ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายหลายเท่า เนื่องจากท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้น และอยู่ใกล้ทวารหนักซึ่งเป็นแหล่งที่มีเชื้อโรคมาก เชื้อโรคจากบริเวณดังกล่าวจึงเข้าทางท่อปัสสาวะของผู้หญิงได้ง่าย
การดูแลตนเองในเบื้องต้นเมื่อเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ ผู้ป่วยควรปฏิบัติดังนี้
1. ควรดื่มน้ำสะอาดให้มาก ๆ ประมาณวันละ 3-4 ลิตร เมื่อไม่มีโรคที่ต้องจำกัดน้ำดื่ม (เช่น โรคหัวใจล้มเหลว) ซึ่งการดื่มน้ำจะช่วยขับเชื้อโรคออกและลดอาการปวดแสบปวดร้อนเวลาปัสสาวะได้
2. ควรถ่ายปัสสาวะทุกครั้งที่รู้สึกปวด ไม่กลั้นปัสสาวะ หลีกเลี่ยงสารอาหารที่ระคายเคืองต่อกระเพาะปัสสาวะ เช่น กาแฟ แอลกอฮอล์ น้ำอัดลม น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล พยายามเคลื่อนไหวร่างกายเสมอ ไม่ควรนั่งแช่อยู่กับที่เป็นเวลานาน ๆ การทำความสะอาดบริเวณอวัยวะเพศหรือภายหลังการขับถ่าย (ในผู้หญิง) ต้องทำจากด้านหน้าไปด้านหลังเสมอ เพื่อป้องกันเชื้อโรคปนเปื้อนผ่านเข้าท่อปัสสาวะเข้ามาในกระเพาะปัสสาวะ ในผู้หญิงไม่ควรใช้วิธีคุมกำเนิดด้วยการใช้ยาฆ่าอสุจิหรือการใช้ฝาครอบปากมดลูก เพราะเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดการระคายเคืองและการบาดเจ็บต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ส่งผลให้เกิดการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ไม่ควรใช้สเปรย์หรือยาดับกลิ่นตัวในบริเวณอวัยวะเพศ เพราะอาจก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อปากท่อปัสสาวะและปากช่องคลอด ซึ่งเป็นการเพิ่มโอกาสเกิดการบาดเจ็บและการติดเชื้อของเนื้อเยื่อ
3. หลีกเลี่ยงการอาบน้ำในอ่าง เพราะอาจเพิ่มโอกาสในการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
4. ควรรักษาสุขอนามัยพื้นฐาน (สุขบัญญัติแห่งชาติ) เพื่อให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง และลดโอกาสการติดเชื้อรุนแรง
5. ผู้ป่วยไม่ควรซื้อยามารับประทานเอง เพราะอาจทำให้ได้ยาที่ไม่ตรงกับชนิดของเชื้อโรค หรือขนาดและระยะเวลาในการใช้ยาไม่ถูกต้อง จึงอาจส่งผลให้โรคไม่หาย และอาจกลายเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบเรื้อรังจากเชื้อดื้อยาได้
6. ในขณะที่มีอาการให้ดื่มน้ำมาก ๆ ถ้าปวดมากให้รับประทานยาแก้ปวดชนิดคลายการบีบตัวของกระเพาะปัสสาวะ และรับประทานยาปฏิชีวนะพื้นฐาน เช่น โคไตรม็อกซาโซล (Co-trimoxazole) 2 เม็ด วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 วัน หรืออะม็อกซีซิลลิน (Amoxicillin) ครั้งละ 500 มิลลิกรัม ทุก 8 ชั่วโมง หรือวันละ 4 ครั้ง หลังอาหารและก่อนนอน เป็นเวลา 3 วัน แต่ถ้าสงสัยว่ามีการแพ้ยาหรือดื้อยาเหล่านี้ก็อาจให้ยาปฏิชีวนะในกลุ่มฟลูออโรควิโนโลน เช่น นอร์ฟล็อกซาซิน (Norfloxacin) ครั้งละ 400 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง ทุก 12 ชั่วโมง นาน 3 วัน, โอฟล็อกซาซิน (Ofloxacin) ครั้งละ 200 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน หรือไซโพรฟล็อกซาซิน (Ciprofloxacin) ครั้งละ 250 มิลลิกรัม วันละ 2 ครั้ง นาน 3 วัน แต่ยากลุ่มฟลูออโรควิโนโลนนี้ไม่ควรใช้ในหญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี เพราะยังไม่มีข้อมูลยืนยันถึงความปลอดภัย
7. ไปพบแพทย์ตามนัดเสมอ และควรรีบไปพบแพทย์ก่อนนัดเมื่อมีอาการผิดปกติไปจากเดิม (เช่น ปัสสาวะเป็นเลือด, มีอาการไข้ หนองไหล ตกขาว ถ่ายเป็นเลือด หรือกระหายน้ำบ่อยร่วมด้วย) หรืออาการต่าง ๆ เลวร้ายลง/อาการยังไม่ดีขึ้นหลังจากดูแลตัวเองมา 2-3 วัน หรือเป็น ๆ หาย ๆ อยู่บ่อย ๆ (เป็นซ้ำมากกว่า 2-3 ครั้ง) หรือเมื่อมีความกังวลในอาการ/ไม่มั่นใจที่จะดูแลรักษาตนเอง หรือพบว่ามีอาการของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบในผู้ชาย (อาการขัดเบา) แม้ว่าจะเริ่มเป็นครั้งแรกก็ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุให้แน่ชัด แล้วรักษาไปตามสาเหตุที่ตรวจพบ
โรงพยาบาลกระบี่นครินทร์อินเตอร์เนชั่นแนล
โทร. 075-626-555
เปิดบริการทุกวันไม่เว้นวันหยุดราชการ
一 | 二 | 三 | 四 | 五 | 六 | 日 |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | |
7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |
14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |
21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 |
28 | 29 | 30 |
Krabi Nakharin International Hospital
1 Pisanpob Rd., Paknam Sub-district, Muang Krabi District, Krabi 81000
www.krabinakharin.co.th
075 626 555
facebook.com/krabinakharin
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |