By Marketing • 10/06/2024 • Comments Off on ธาลัสซีเมีย (Thalassemia) คืออะไร ?
เป็นกลุ่มโรคโลหิตจางที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมแบบยีนด้อย (autosomal recessive) เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม โดยเกิดการกลายพันธุ์ของยีน (globin gene) ที่ควบคุมการสร้างโกลบิน (globin chain) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของฮีโมโกลบิน (hemoglobin) ในเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงอายุสั้นกว่าปกติ เกิดเป็นภาวะโลหิตจาง ซึ่งส่งผลให้อวัยวะต่างๆ ในร่างกายได้รับออกซิเจนน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น โดยยีนเหล่านี้จะได้รับมาจากบิดาครึ่งหนึ่งและมารดาครึ่งหนึ่ง ความผิดปกติมีได้หลายแบบ ทั้งแบบที่สร้างโกลบินได้ลดลง หรือสร้างสายโกลบินที่ผิดปกติไป ทั้งนี้ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับชนิดและจำนวนยีนที่ผิดปกติ
ในประเทศไทยพบว่ามีประชากรที่เป็นพาหะธาลัสซีเมียอยู่จำนวนมาก แบ่งตามชนิดได้ดังนี้
• 20-30% เป็นพาหะแอลฟาธาลัสซีเมีย (alpha thalassemia)
• 13% เป็นพาหะฮีโมโกลบินอี (hemoglobin E) และ
• 9% เป็นพาหะของบีตาธาลัสซีเมีย (beta thalassemia)
อาการของโรคธาลัสซีเมียชนิดที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ได้แก่
• เด็กจะมีอาการซีด อาจต้องได้รับการให้เลือดเป็นบางครั้ง
• เหนื่อยง่าย
• ผิวซีด หรือผิวเหลืองคล้ายเป็นดีซ่าน
• อ่อนเพลีย
• ท้องโตจากการที่ตับ และม้ามโต
• กระดูกใบหน้าผิดปกติ เช่น จมูกแบน โหนกแก้มสูง คาง และกระดูกขากรรไกรใหญ่ผิดปกติ
• แคระแกร็ง
• หายใจลำบาก
• เด็กทารกจะมีบวมน้ำ ซีดมาก ท้องโตจากการที่ตับ และม้ามโต หัวใจวาย อาจเสียชีวิตในครรภ์หรือหลังคลอดออกมาได้ไม่นาน
เพราะผู้ที่เป็นพาหะสามารถถ่ายทอดยีนผิดปกตินั้นไปยังลูกได้ ดังนั้นคู่รักที่ต้องการมีบุตรควรตรวจหาว่าตนเองเป็นพาหะหรือไม่ โดยหากคู่สามีภรรยาเป็นพาหะธาลัสซีเมียชนิดเดียวกัน ก็มีโอกาสที่ลูกจะเป็นโรคธาลัสซีเมียได้ถึง 25%
ดังนั้น เมื่อมีการตั้งครรภ์ควรรีบฝากครรภ์และปรึกษาแพทย์โดยเร็ว เพื่อทำการตรวจวินิจฉัยทารกในครรภ์ในช่วงอายุครรภ์ที่เหมาะสมว่าได้รับการถ่ายทอดยีนด้อยและมีโอกาสเป็นธาลัสซีเมียมากแค่ไหน นอกจากนี้คู่สามีภรรยาอาจจะเลือกใช้วิธีผสมเทียมเข้ามาช่วยในการมีบุตร เพื่อเป็นการคัดกรองก่อนการตั้งครรภ์ ก็จะปลอดภัยต่อทารกในครรภ์มากขึ้น
สอบถามเพิ่มเติม หรือ นัดหมาย แผนกผู้ป่วยนอก ชั้น G
โทร. 075-626555 ต่อ 1117-8
ให้บริการทุกวัน
จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.00 -20.00 น.
เสาร์ – อาทิตย์ เวลา 08.00-17.00 น.
ป่วยไม่สบายให้เราดูแล กับโรงพยาบาลกระบี่นครินทร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
M | T | W | T | F | S | S |
---|---|---|---|---|---|---|
1 | 2 | 3 | ||||
4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 |
11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 |
18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 |
25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 |
โรงพยาบาลกระบี่นครินทร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
เลขที่ 1 ถ.พิศาลภพ ต.ปากน้ำ อ.เมือง จ.กระบี่ 81000
www.krabinakharin.co.th
075 626 555
facebook.com/krabinakharin
Cookie | Duration | Description |
---|---|---|
cookielawinfo-checkbox-analytics | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Analytics". |
cookielawinfo-checkbox-functional | 11 months | The cookie is set by GDPR cookie consent to record the user consent for the cookies in the category "Functional". |
cookielawinfo-checkbox-necessary | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookies is used to store the user consent for the cookies in the category "Necessary". |
cookielawinfo-checkbox-others | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Other. |
cookielawinfo-checkbox-performance | 11 months | This cookie is set by GDPR Cookie Consent plugin. The cookie is used to store the user consent for the cookies in the category "Performance". |
viewed_cookie_policy | 11 months | The cookie is set by the GDPR Cookie Consent plugin and is used to store whether or not user has consented to the use of cookies. It does not store any personal data. |